วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ชะพลู




ชะพลู
ชื่อสามัญ :                Cha-plu
ชื่อวิทยาศาสตร์           Piper sarmentosum Roxb. ex Hunter
วงศ์                        PIPERACEAE

             ชะพลู เป็นพันธ์ไม้เลื้อย นิยมนำใบมารับประทาน ใบคล้ายใบพลู คล้ายทองหลาง ทางเหนือเรียกผักปูนก ช้าพลู พลูลิง อีสานเรียกผักนางเลิดหรืออีเลิด ทางใต้เรียกนมวา เป็นต้น

ลักษณะโดยทั่วไป
          ชะพลู ปลูกง่ายเพียงนำกิ่งมาปัก ชอบที่ชื้นแฉะ และดินดำ ชะพลูไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะมีสาร Oxalate ถ้ารับประทานมากสารจะสะสมและเป็นนิ่วในไตได้ ถ้ารับประทานกับเนื้อสัตว์จะไม่เป็นอะไรมาก นอกจากนี้ชะพลูยังสามารถนำมาประกอบเป็นยาสมุนไพรได้ เช่น แก้โรอาการจุกเสียด ช่วยขับเสมหะ และให้พลังงานสูงมาก

คุณค่าทางอาหาร
                    ชะพลูไม่ใช่พลู แต่ก็คล้ายกันมาก จะพบชะพลูได้ตามอาหารว่างอย่างหนึ่งที่เราเรียกว่าเมี่ยงคำ เริ่มคุ้นกันหรือยัง เมี่ยงนี่บางทีก็ใช้ใบทองหลาง รสมัน ๆ ห่อของเล็กของน้อยจำพวกขิงเล็ก ๆ มะพร้าวคั่ว หัวหอม ฯลฯ แล้วราดน้ำหวาน ๆ ห่อพันกันให้เรียบร้อยแล้วก็ส่งเข้าปาก แต่ในอีกบางที่ก็นิยมใช้ใบชะพลูมากกว่า หากไปเห็นเมี่ยงคำที่เขาจัดขายเป็นชุด ก็มักจะมีแต่ใบชะพลูเป็นหลักมากกว่าใบทองหลาง
                     เมื่อรู้จักกินเมี่ยงคำ เด็ก ๆ ที่เริ่มกินก็ต้องเลือกเอาใบทองหลางที่อ่อนสักหน่อย เพราะรู้สึกดีเวลาเคี้ยวและไม่มีกลิ่นฉุน ส่วนอีกใบที่เคยเข้าใจว่าเป็นพลูที่วางเคียงมาในสำรับด้วยนั้นไม่เคยแตะเลย ใบไม้อะไรกลิ่นแนเกินกำลังของเด็กที่จะกินเข้าไปได้

                     พอโตขึ้น ปากกลิ่นแก่กล้า ไม่ได้ไว้นินทาใครที่ไหน แต่สามารถกินอะไรได้มากขึ้น รับรสสัมผัสได้มากขั้น ชะพลูจึงกลายเป็นสิ่งธรรมดา ๆ ที่คู่มากับเมี่ยงคำ กลิ่นฉุนที่เคยรุนแรงเมื่อเป็นเด็กก็กลับลดลง กลับสนุกที่ได้ใช้ใบชะพลูห่อเมี่ยงแล้วราดน้ำหวานเยอะ ๆ
                 ใบชะพลูกินกับเมี่ยงได้หลากชนิดนอกจากเมี่ยงคำที่รู้จักกันดี เช่น เมี่ยงปลาทู (มีบางคนปรับปรุงเป็นเมี่ยงปลาทูน่า ก็พอรับประทานได้อยู่)
แกงทางใต้ แกงมีคั่วใบชะพลูใส่ไก่ หรือบางทีก็ใส่หอยขม หรือหอยแมลงภู่ หอยแครง แกงอย่างนี้หากมีปลาแห้ง หรือปลาทอดแนมมาด้วยก็ได้ลุกจากโต๊ะอาหารเป็นคนหลังสุด
         ชะพลูเป็นผักที่มีสารอาหารมากเหลือเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อเพราะได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มี เบต้า-แคโรทีน สูงมาก ซึ่งสารตัวนี้สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ แคลเซียมวิตามินซีก็มีมากเหมือนกัน

ข้อควรระวังในการกินชะพลู
อย่างไรก็ตาม ชะพลูก็มีข้อควรระวังที่สำคัญนั่นคือไม่ควรกินใบชะพลูในปริมาณมากเกินไป เพราะมีสารออกซาเลต (Oxalate) ที่หากสะสมในร่างกายมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ แต่หากเรารับประทานในจำนวนพอเหมาะ เว้นระยะบ้าง เชื่อกันว่าชะพลูจะช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล

ลักษณะทั่วไปของชะพลู
 ชะพลูเป็นไม้เถาเลื้อย ใบเป็นรูปหัวใจสีเขียวเข้ม เป็นมัน มีรสฉุนและออกเผ็ดเล็กน้อย เป็นไม้ชอบชื้นและร่มสักหน่อย คิดอยากจะปลูกชะพลูก็หากิ่งแก่ ๆ มาปักไว้ในถุงดำ หรือกระถางเล็ก ๆ รดน้ำเสมอ ๆ แต่ต้องไม่ถึงกับแฉ เมื่อตั้งตัวได้และออกรากพอสมควร จึงย้ายลงปลูกในที่ที่เตรียมไว้ ถ้ามีพื้นที่ก็อาจทำค้างหรือซุ้มแต่สนใจจะปลูกเป็นไม้ใบเพื่อประดับก็ย่อมได้ ชะพลูไม่เกี่ยง แค่มีผนังปูนผิวหยาบ ๆ สักหน่อยแล้วคอยดู ชะพลูจะเลื้อยแผ่ใบเขียวเต็มกำแพง
         ถึงไม่มีวัสดุอะไรเลย ชะพลูก็ไม่ง้อ เลื้อยไปตามดินก็ยังได้ขอแค่ดินชุ่มชื้น ๆ และแดดไม่แรงนักก็พอใจแล้ว
         หากยังแยกแยะชะพลูกับใบพลูไม่ออก ให้ดูที่ความแข็งความอ่อนของใบ ใบพลูที่กินกับหมากนั้นจะแข็งกว่า เส้นใบเห็นชัดเจน หรือเด็ดมาดมเสียเลย ใบพลูนั้นฉุนกว่าเป็นไหน ๆ
ประโยชน์
คุณค่าสมุนไพรใบชะพลูนั้นได้แก่รากนั้นใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ เถาและรากก็ใบขับเสมหะเหมือนกัน
         รับประทานใบชะพลูบ้างเพื่อปรับธาตุปรับสมดุลในร่างกาย แต่อย่ามากเกินเพราะอาจเป็นพิษกับตัวคนกินได้ ดังนั้นรู้จักความพอดีได้ ในใบชะพลู
แหล่งข้อมูล   www.panyathai.or.th/
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น