วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กระชาย







ชื่อวิทยาศาสตร์           Boesenbergia pundurata (R0xb) Schitr
วงศ์                        Zinggberaceae
ชื่อท้องถิ่น                 กะแอน  (ภาคเหนือ)   ขิงทราย (มหาสารคาม)   ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
                  กระชายเป็นไม้ล้มลุก สูงราว 1-2 ศอก มีลำต้นใต้ดินเรียกเหง้า มีรากทรงกระบอกปลายแหลมจำนวนมากรวมติดอยู่ที่เหง้าเป็นกระจุก เนื้อในรากละเอียด สีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะกาบใบสีแดงเรื่อ ใบใหญ่ยาวรีปลายแหลม ดอกเป็นช่อ สีขาวชมพู ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า กระชายชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบดินแฉะ ต้องการแค่ปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติ ฤดูที่เหมาะกับการปลูกคือปลายฤดูแล้ง   กระชายเป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกตามบ้านเรือนทั่วไป ส่วนที่ใช้เป็นอาหารและยาในประเทศไทยคือเหง้าใต้ดินและราก   ในประเทศจีนมีรายงานการใช้กระชายเป็นยา    ในประเทศไทยมีพืชที่เรียกว่ากระชายอยู่ 3 ชนิด คือกระชาย (เหลือง) กระชายแดง และกระชายดำ      กระชายเหลืองและกระชายแดง เป็นพืชจำพวก (genus และ species) เดียวกัน แต่เป็นพืชต่างชนิดกันและมีฤทธิ์ทางยาต่างกันเล็กน้อย โดยกระชายแดงจะมีกาบใบสีแดงเข้มกว่ากระชายเหลือง   ส่วนกระชายดำ เป็นพืชวงศ์ขิงเช่นกันแต่อยู่ในตระกูลเปราะหอม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora Wall. Ex Bak.

วิธีปลูก
               กระชายชอบอากาศร้อนชื้นและขึ้นได้ดีในดินปนทราย วิธีการปลูกคือใช้เหง้า ตัดรากทิ้งไปบ้างให้เหลือไว้ 2 ราก และปลูกให้ลึกประมาณ 15 ซม. กลบด้วยปุ๋ยคอกและคลุมด้วยฟางแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม

สาระสำคัญที่พบ
                รากและเหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วยสารไพนีน แคมฟีน เมอร์ซีน ไลโมนีน บอร์นีออลและการบูร เหง้าและรากของกระชายมีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้า และรากของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย

สรรพคุณ
                   กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก  และ......
         1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม
         2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน
         3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานก่อนอาหารเย็น
         4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำกระชายแห้งบดให้เป็นผงละลายกับน้ำร้อน
         5. นำรากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ใช้ฉีดบริเวณที่มีแมลงรบกวน
         6. บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ 2 ข้อนิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์
         7.บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่งกับน้ำสะอาด 1 แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ 3 เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน
         8. แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ 3 มื้อก่อนอาหาร 15 นาที สัก 7 วัน
         9. ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15-20 นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน
         10. แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก
         11. ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
                      ส่วนที่ใช้ในการประกอบอาหารก็คือ เหง้าและราก รากกระชายเป็นส่วนผสมของเครื่องแกงขนมจีนน้ำยา และเป็นส่วนประกอบของอาหารอีกหลายชนิดเพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา เช่น ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า หลนปลาร้า ฯลฯ

แหล่งข้อมูล   ปัญญาไทยดอทคอม,โหระพาดอทคอม,สมุนไพรดอทคอม
 

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ชะพลู




ชะพลู
ชื่อสามัญ :                Cha-plu
ชื่อวิทยาศาสตร์           Piper sarmentosum Roxb. ex Hunter
วงศ์                        PIPERACEAE

             ชะพลู เป็นพันธ์ไม้เลื้อย นิยมนำใบมารับประทาน ใบคล้ายใบพลู คล้ายทองหลาง ทางเหนือเรียกผักปูนก ช้าพลู พลูลิง อีสานเรียกผักนางเลิดหรืออีเลิด ทางใต้เรียกนมวา เป็นต้น

ลักษณะโดยทั่วไป
          ชะพลู ปลูกง่ายเพียงนำกิ่งมาปัก ชอบที่ชื้นแฉะ และดินดำ ชะพลูไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะมีสาร Oxalate ถ้ารับประทานมากสารจะสะสมและเป็นนิ่วในไตได้ ถ้ารับประทานกับเนื้อสัตว์จะไม่เป็นอะไรมาก นอกจากนี้ชะพลูยังสามารถนำมาประกอบเป็นยาสมุนไพรได้ เช่น แก้โรอาการจุกเสียด ช่วยขับเสมหะ และให้พลังงานสูงมาก

คุณค่าทางอาหาร
                    ชะพลูไม่ใช่พลู แต่ก็คล้ายกันมาก จะพบชะพลูได้ตามอาหารว่างอย่างหนึ่งที่เราเรียกว่าเมี่ยงคำ เริ่มคุ้นกันหรือยัง เมี่ยงนี่บางทีก็ใช้ใบทองหลาง รสมัน ๆ ห่อของเล็กของน้อยจำพวกขิงเล็ก ๆ มะพร้าวคั่ว หัวหอม ฯลฯ แล้วราดน้ำหวาน ๆ ห่อพันกันให้เรียบร้อยแล้วก็ส่งเข้าปาก แต่ในอีกบางที่ก็นิยมใช้ใบชะพลูมากกว่า หากไปเห็นเมี่ยงคำที่เขาจัดขายเป็นชุด ก็มักจะมีแต่ใบชะพลูเป็นหลักมากกว่าใบทองหลาง
                     เมื่อรู้จักกินเมี่ยงคำ เด็ก ๆ ที่เริ่มกินก็ต้องเลือกเอาใบทองหลางที่อ่อนสักหน่อย เพราะรู้สึกดีเวลาเคี้ยวและไม่มีกลิ่นฉุน ส่วนอีกใบที่เคยเข้าใจว่าเป็นพลูที่วางเคียงมาในสำรับด้วยนั้นไม่เคยแตะเลย ใบไม้อะไรกลิ่นแนเกินกำลังของเด็กที่จะกินเข้าไปได้

                     พอโตขึ้น ปากกลิ่นแก่กล้า ไม่ได้ไว้นินทาใครที่ไหน แต่สามารถกินอะไรได้มากขึ้น รับรสสัมผัสได้มากขั้น ชะพลูจึงกลายเป็นสิ่งธรรมดา ๆ ที่คู่มากับเมี่ยงคำ กลิ่นฉุนที่เคยรุนแรงเมื่อเป็นเด็กก็กลับลดลง กลับสนุกที่ได้ใช้ใบชะพลูห่อเมี่ยงแล้วราดน้ำหวานเยอะ ๆ
                 ใบชะพลูกินกับเมี่ยงได้หลากชนิดนอกจากเมี่ยงคำที่รู้จักกันดี เช่น เมี่ยงปลาทู (มีบางคนปรับปรุงเป็นเมี่ยงปลาทูน่า ก็พอรับประทานได้อยู่)
แกงทางใต้ แกงมีคั่วใบชะพลูใส่ไก่ หรือบางทีก็ใส่หอยขม หรือหอยแมลงภู่ หอยแครง แกงอย่างนี้หากมีปลาแห้ง หรือปลาทอดแนมมาด้วยก็ได้ลุกจากโต๊ะอาหารเป็นคนหลังสุด
         ชะพลูเป็นผักที่มีสารอาหารมากเหลือเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อเพราะได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มี เบต้า-แคโรทีน สูงมาก ซึ่งสารตัวนี้สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ แคลเซียมวิตามินซีก็มีมากเหมือนกัน

ข้อควรระวังในการกินชะพลู
อย่างไรก็ตาม ชะพลูก็มีข้อควรระวังที่สำคัญนั่นคือไม่ควรกินใบชะพลูในปริมาณมากเกินไป เพราะมีสารออกซาเลต (Oxalate) ที่หากสะสมในร่างกายมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ แต่หากเรารับประทานในจำนวนพอเหมาะ เว้นระยะบ้าง เชื่อกันว่าชะพลูจะช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล

ลักษณะทั่วไปของชะพลู
 ชะพลูเป็นไม้เถาเลื้อย ใบเป็นรูปหัวใจสีเขียวเข้ม เป็นมัน มีรสฉุนและออกเผ็ดเล็กน้อย เป็นไม้ชอบชื้นและร่มสักหน่อย คิดอยากจะปลูกชะพลูก็หากิ่งแก่ ๆ มาปักไว้ในถุงดำ หรือกระถางเล็ก ๆ รดน้ำเสมอ ๆ แต่ต้องไม่ถึงกับแฉ เมื่อตั้งตัวได้และออกรากพอสมควร จึงย้ายลงปลูกในที่ที่เตรียมไว้ ถ้ามีพื้นที่ก็อาจทำค้างหรือซุ้มแต่สนใจจะปลูกเป็นไม้ใบเพื่อประดับก็ย่อมได้ ชะพลูไม่เกี่ยง แค่มีผนังปูนผิวหยาบ ๆ สักหน่อยแล้วคอยดู ชะพลูจะเลื้อยแผ่ใบเขียวเต็มกำแพง
         ถึงไม่มีวัสดุอะไรเลย ชะพลูก็ไม่ง้อ เลื้อยไปตามดินก็ยังได้ขอแค่ดินชุ่มชื้น ๆ และแดดไม่แรงนักก็พอใจแล้ว
         หากยังแยกแยะชะพลูกับใบพลูไม่ออก ให้ดูที่ความแข็งความอ่อนของใบ ใบพลูที่กินกับหมากนั้นจะแข็งกว่า เส้นใบเห็นชัดเจน หรือเด็ดมาดมเสียเลย ใบพลูนั้นฉุนกว่าเป็นไหน ๆ
ประโยชน์
คุณค่าสมุนไพรใบชะพลูนั้นได้แก่รากนั้นใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ เถาและรากก็ใบขับเสมหะเหมือนกัน
         รับประทานใบชะพลูบ้างเพื่อปรับธาตุปรับสมดุลในร่างกาย แต่อย่ามากเกินเพราะอาจเป็นพิษกับตัวคนกินได้ ดังนั้นรู้จักความพอดีได้ ในใบชะพลู
แหล่งข้อมูล   www.panyathai.or.th/
 

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

ตะไคร้




ตะไคร้                    (Lemongrass)
ชื่อวิทยาศาสตร์            Cymbopogon citratus (DC.) Staph
ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ถิ่นกำเนิด
                ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะโดยทั่วไป
โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
ตะไคร้กอ   ตะไคร้ต้น  ตะไคร้หางนาค   ตะไคร้น้ำ   ตะไคร้หางสิงห์  ตะไคร้หอม
                    เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
การปลูกและขยายพันธุ์
                        ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จำนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากแดดให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม
สรรพคุณ
                     ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียร ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้
ตำรายาไทย
ใบ       รสปร่า ลดความดันโลหิต แก้ไข้
ต้น      รสหอมปร่า ขับลม แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่ว ดับกลิ่นคาว เจริญอาหาร
เหง้า    รสปร่า แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุ แก้กษัย ขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะขัด แก้
              ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว
ทั้งต้น   รสหอมปร่า แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ
วิธีทำน้ำตะไคร้ไว้ดื่ม
                     นำต้นตะไคร้มาทุบแล้วใส่ลงไปต้มในน้ำที่กำลังเดือดพล่าน รอจนน้ำเปลี่ยนสีให้ยกลง เอากากออกแล้วเอาน้ำตาลใส่ ชิมดูรสชาติหวานปานกลาง พอเย็นลงเก็บใส่ตู้เย็น แก้กระหาย ใช้ดื่มก่อนดื่มเหล้าจะทำให้ดื่มเหล้าได้น้อยลง และทำให้เจริญอาหาร
ชาตะไคร้
                   สรรพคุณ : แก้ปวดกระดูก , ปวดหลัง , ปวดแข้งปวดขา , ป้องกันโรคกระดูกผุ , นั่งดูหนังสือแล้วตาลาย ลุกขึ้นแล้วหน้ามืด , ป้องกันโรคไต , เบาหวาน , คอเรสเตอรอล
วิธีทำ
                เอาต้นตะไคร้ล้างให้สะอาด (ตะไคร้ที่ใช้ทำอาหาร) ใช้ส่วนที่เป็นต้น ใบกับรากไม่เอา หั่นตากแดดให้แห้งสนิท แล้วนำมาคั่วให้เหลืองหอม เก็บไว้ชง หรือต้มกินต่างน้ำ เหมือนน้ำชา

ที่มา : หนังสือ"สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 2 เรื่อง ไม้ริมรั้ว"
: สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
 

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ขมิ้นชัน







ชื่อวิทยาศาสตร์           Curcuma long Linn.
ชื่ออื่น                      ขมิ้น,ขมิ้นแกง,ขมิ้นหยอก,ขมิ้นหัว,ขี้มิ้น,หมิ้น
ลักษณะ
พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านยาว ใบเหนียว เรียวและปลายแหลม ดอกเป็นช่อกระทง ก้านช่อดอกแทงจากเหง้าโดยตรง ดอกฝอยมีสีเหลืองอ่อน กลีบประดับสีเขียวอมชมพู
สรรพคุณเด่น
รักษาอาการท้องอืดเฟ้อ โรคกระเพาะ แผลพุพอง บำรุงผิว
วิธีใช้ในครัวเรือน
เอาขมิ้นชันสดมากินหรือนำขมิ้นชันมาหันตากแห้ง แล้วบดเป็นผง ปั้นเป็นเม็ดลูกกลอน กินครั้งละ 3-4 เม็ด ก่อนอาหารและก่อนนอน หรือใช้ขมิ้นชันผงทารักษาแผล
สภาพแวดล้อม
ขมิ้นชัน เป็นพืชพื้นเมืองของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้เอง แล้วกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของโลก ขมิ้นชันที่ปลูกในภาคใต้เราพบว่ามีคุณสมบัติที่ดีที่สุดในโลก ขมิ้นชันชอบอากาศค่อนข้างร้อน ความชื้นสูง ชอบดินทีร่วนซุย ระบายน้ำดี ถ้ามีน้ำขังจะทำให้เหง้าขมิ้นเน่า ปลูกในดินทรายได้หัวมากกว่าดินอื่น ดินเหนียว ดินเป้นกด ดินลูกรัง หรือพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง เช่น หลายพื้นที่ในภาคอีสานไม่เหมาะจะปลูก ขมิ้นชันชอบแดดรำไร ปลูกได้ระหว่างแถวไม้ผล
ปลูก / ดูแล
ขมิ้นชันควรปลูกในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เตรียมหัวพันธ์จากเหง้าที่แก่จัด อายุ 11-12 เดือน
ใช้แง่งแม่หรือแง่งนิ้วมือ โดยไม่ต้องตัดหรือตัดเป็นท่อนๆ ให้มีตาติดอยู่ 1-2 ตา แล้วนำไปปลูกในแปลงเลย
เตรียมดินโดยพรวนดินให้ร่วนซุย การทำให้ดินโปร่งเพื่อปลูกขมิ้นชันหรือพืชอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน เช่น ขิง ไพล ควรเลือกใช้ปุ๋ยอย่างพิถีพิถัน ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอกบางชนิด เช่น ปุ๋ยขี้เป็ดขี้ไก่ เพราะมักจะทำให้เกิดเชื้อรา ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับขมิ้นชันคือ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยขี้วัวจากวัวที่เลี้ยงตามทุ่ง
ในพื้นที่ที่มีน้ำมาก ควรยกร่อง แต่ถ้าปลูกในสวนไม้ผลไม่จำเป็นต้องยกร่อง ระยะปลูกระหว่างแถว 30 ซม. ระหว่างต้น 30 ซม. ขุดหลุมปลูกกว้างลึกประมาณ 1 หน้าจอบ (15 ซม.) ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกกับดินก้นหลุม เอาหัวพันธ์ฝังให้ลึก 5-7 ซม. เกลี่ยดินกลบแล้วใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมแปลงช่วยรักษาความชื้นน
หลังจากปลูกในช่วง 6 เดือนแรก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำรักษาความชุ่มชื้นในดินให้สม่ำเสมอ เมื่อขมิ้นชันทิ้งใบหมด คอยดายหญ้า พรวนดินกลบโคนต้นอยู่เสมอ
เก็บเกี่ยว
ขมิ้นชันจะเริ่มแก่เมื่ออายุประมาณ 7 เดือน สังเกตจากใบล่างๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปล่อยทิ้งไว้อีก 2-3 เดือน ใบจะแห้ง ต้นฟุบ ก็ขุดใช้ได้ ถ้าดินแห้งเกินไป ให้รดน้ำก่อนเพื่อให้ขุดง่ายขึ้นระวังอย่าให้จอบโดนเหง้าเป็นแผล. ขมิ้นชันจะเริ่มแก่เมื่ออายุประมาณ 7 เดือน สังเกตจากใบล่างๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปล่อยทิ้งไว้อีก 2-3 เดือน ใบจะแห้ง ต้นฟุบ ก็ขุดใช้ได้ ถ้าดินแห้งเกินไป ให้รดน้ำก่อนเพื่อให้ขุดง่ายขึ้นระวังอย่าให้จอบโดนเหง้าเป็นแผล
เหง้าแก่ถ้าทิ้งไว้ในดิน หัวจะฝ่อ เมื่อได้ฝนจะแตกหนอใหม่แต่จะไม่เพิ่มจำนวน ถ้าต้องการขยายจำนวน ควรขุดขึ้นมาใช้เป็นพันธ์สำหรับปลูกใหม่
แปรรูป
ขมิ้นชันเป็นพืชหัวอยู่ใต้ดิน การล้างทำความสะอาดเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ควรรีบล้างขมิ้นชันทันทีจะทำให้ล้างง่ายขึ้นและไม่เน่าเสียง่าย
นำขมิ้นชันมาเคาะดินออก ตัดรากตามเหง้าออกให้หมด แยกเหง้าขมิ้นชันออกเป็นแง่งๆ นำเหง้าขมิ้นชันมาล้าง โดยเปิดน้ำให้ไหลฉีดแรง เพื่อล้างดินที่ติดตามแง่งขมิ้นชันให้ออกได้ดีขึ้น ใช้มือขัดถูแง่งขมิ้นชันให้สะอาด ถ้าใช้มือล้างไม่ออกให้ใช้แปรงสีฟันที่ขนแข็งๆ แปรงออกให้สะอาด หลังจากล้างน้ำเสร็จแล้ว ให้ล้างน้ำแบบสรงน้ำอีก 5 ครั้ง เมื่อล้างเสร็จแล้วไม่ควรนำขมิ้นชันมาหั่นเพื่อตากในทันทีเพราะจะแฉะแล้วตากยาก ควรใส่ในตะกร้าหรือเข่งทิ้งไว้ก่อนสัก 1 คืน
ตอนเช้านำขมิ้นชันที่ล้างแล้วใช้มีดคมๆ หั่นให้บางที่สุด เสร็จแล้วใส่กระจาดหรือภาชนะที่มีรูโปร่งนำไปตากแดด เกลี่ยให้เต็มพื้นที่อย่าให้ทับซ้อนกัน พลิกบ่อยๆ ในช่วงแรกประมาณ 10-20 นาที ต่อครั้ง จะทำให้ขมิ้นแห้งเร็วมากและมีสีสวย พอขมิ้นชันเริ่มแห้งจะหดมีขนาดเล็กลง ค่อยนำมารวมกันและเกลี่ยให้ทั่วอีกครั้ง ขมิ้นชันตากแดดจัดๆ เพียง 2 วัน ก็แห้งสนิทแล้ว
ในกรณีที่มีขมิ้นชันจำนวนมาก ควรใช้วิธีทยอยหั่น ทยอยตากจะดีที่สุด ขมิ้นชันไม่ควรใช้เวลาหั่นเกินเที่ยงวัน มิฉะนั้นจะตากแดดไม่ทัน (ตากถึงบ่ายสามโมง)
ก่อน บรรจุใส่ถุงหรือภาชนะจัดเก็บ ให้ตรวจสอบขมิ้นชันอีกครั้ง หากพบขมิ้นชันที่อาจเป็นช่วงปุ่มปมที่มีความหนา ยังไม่แห้งสนิทให้นำมาทุบหรือหั่นซอยแล้วนำไปตากซ้ำให้แห้งสนิทอีกครั้งก่อน นำมาบรรจุ
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
              ลูกกลอน
,แคปซูล,สบู่ก้อน,สบู่เหลว

แหล่งข้อมูล   มูลนิธิสุขภาพไทย
 

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

เสลดพังพอน





ชื่อวิทยาศาสตร์           Clinacanthus nutans (Burm.f) Lindau
ชื่ออื่น                      พญาปล้องคำ, พญายอ, พญาปล้องทอง, ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด 
ลักษณะ
                      ไม้พุ่มแกมเลื้อย สูง 1-3 เมตร ลำต้น ใบ และกิ่งก้านสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปใบรีแคบ ปลายและโคนต้นใบแหลม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อย 3-6 ดอก สีแดงอมส้ม กลีบดอกเป็นหลอด ปลายแยก
สรรพคุณเด่น
                      แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เริม งูสวัด อีสุกอีใส
วิธีใช้
                      ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมีย 10-15 ใบ ตำผสมเหล้าหรือแอลกอฮอล์ ใช้สำลีชุบน้ำยาทาบ่อยๆ
สภาพแวดล้อม
                     เสลดพังพอนตัวเมีย เป็นพืชที่พบขึ้นตามป่าและปลูกกันตามบ้าน ขึ้นได้แทบทุกที่ ทั้งในที่ร่มรำไรหรือแดดจัด แต่เมื่ออยู่ในแดดรำไร่คุณภาพเมื่อเก็บเกี่ยวเป็นวัตถุดิบทำยาจะดีกว่า ใบจะใหญ่ สีเขียวเข้ม ถ้าอยู่กลางแดดใบจะเล็ก และงามแค่หน้าฝน ช่วงท้ายฝนถ้าไม่ได้น้ำใบจะร่วงหมด เสลดพังพอยตัวเมียที่อยู่ในแดดจัด เมื่อเก็บไปตากแห้งใบจะมีสีเหลืองไม่สวย
ปลูก / ดูแล
                      เสลดพังพอนตัวเมีย ใช้กิงปักชำ ให้เลือกกิ่งที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ตัดกิ่งให้ยาวคืบเศษ มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ลิดใบส่วนล่างออกเหลือใบส่วนบนไว้บ้างเพื่อช่วยในการเกิดราก ปักกิ่งชำในถุงเพาะชำให้ฝังดิน 1 ข้อ หรือลึกประมาณ 3 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อกิ่งชำแตกรากและใบอ่อน อายุประมาณ 20-30 วัน ก็ย้ายปลูกได้   เหมาะ จะปลูกเป็นพืชแซมเพื่ออาศัยร่มเงาของไม้ใหญ่หรือไม้ผล ปลูกในฤดูฝน ขุดหลุ่มปลูกกว้าง 10-15 ซม. ลึก 10 ซม. ระยะห่างระหว่างต้น ระหว่างแถว 80 x 80 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกรองก้นหลุมแล้วย้ายกิ่งชำมาปลูกหรือจะตัดกิงมาปักลง ในหลุมเลยก็ได้   หลัง จากย้ายปลูก ถ้าฝนไม่ขตก ควรหมั่งรดน้ำจนกว่ากิ่งชำจะตั้งตัวได้ หลังจากนั้นก็ดูแลอย่าให้ดินขาดความชื้นก็พอ เสลดพังพอนตัวเมียเป็นไม้กึ่งพาดกึ่งเลื้อย ไม่ถึงกับเลื้อยพัน แต่ค่อนข้างเกะกะ บ้างครั้งต้องใช้ไม้ปักช่วยพยุงลำต้น    เรื่อง โรคแมลงแทบไม่จำเป็นต้องดูแล ส่วนการใส่ปุ๋ยในการปลูก ถ้าดินอุดมสมบรูณ์อยู่แล้ว ไม่ค่อยจำเป็น แต่หลังการเก็บเกี่ยวควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อช่วยให้แตกกิ่งใบเร็วขึ้น
เก็บเกี่ยว
                     เสลดพังพอนตัวเมีย ควรมีอายุ 6 เดือนขึ้นไปจึงค่อยเก็บเกี่ยวจะได้น้ำหนักดี ถ้าใช้วิธีทะยอยเก็บใบไปเรื่อยๆ ก็ให้เก็บใบที่อยู่ใต้ยอดลงมาสัก 2 ปล้อง แต่ถ้าเก็บให้ได้ปริมาณมากและสะดวกรวดเร็ว ก็ให้ตัดเหนือโคนต้นประมาณ 10 ซม. แล้วมาลิดเอาใบ ถ้าใส่ปุ๋ยคอก ให้ใส่หลังเก็บเกี่ยวอีก 3-5 เดือน ก็เก็บได้อีก
แปรรูป
                   ใช้วิธีเดียวกับฟ้าทะลายโจร (ดูฟ้าทะลายโจร) นำใบมาสรงน้ำสะอาด 3 ครั้ง สะเด็ดน้ำให้แห้งแล้วนำมาผึ่งลม อย่าผึ่งหลายวัยเกินไปสีใบจะซีด หากใช้วิธีอบด้วยตู้พลังงานแสงอาทิตย์ดีที่สุด จะได้ใบแห้งที่มีสีสวย
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
                    ยาหม่อง, กลีเซอรีน, คาลาไมน์, ครีม, ทิงเจอร์

แหล่งข้อมูล      www.thaihof.org
 

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ชุมเห็ดเทศ









ชุมเห็ดเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Cassia alata Linn
ชื่อท้องถิ่น                  ชุมเห็ดใหญ่(ภาคกลาง), ขี้คาก, ลับมืนหลวง, หมากกะลิงเทศ(ภาคเหนือ), ชุมเห็ด(ภาคกลาง), เล็บมื่นหลวง(ภาคเหนือ), สัมเห็ด(เชียงราย), จุมเห็ด(มหาสารคาม),ตะสีพอ
                             (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะโดยทั่วไปของชุมเห็ดเทศ     เป็นไม้พุ่ม ใบรูปไข่ หรือรูปไข่ขอบขนาน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน เรียงตัวเป็นแบบใบประกอบ ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแบนยาวมีปีก 4 ปีก เมล็ดในรูปสามเหลี่ยม ใช้เมล็ดปลูก

ส่วนที่ใช้เป็นยา    คือ ใบสด หรือแห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย    รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มทานแก้อาการท้องผูก

ประโยชน์ทางยา    ใบชุมเห็ดเทศมีสารแอนทราควิโนน (anthraquinone) ช่วยขับถ่าย ชุมเห็ดเทศใช้เป็นยารักษาอาการ ดังนี้
1.       อาการท้องผูก ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 2-3 ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบสดมาล้างให้สะอาด หั่นตากแห้ง ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 12 ใบ หรือใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ครั้งละ 3 เม็ด รับประทานก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก
2.       กลาก ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมเท่าๆกัน ผสมปูนแดง(ที่กินกับหมาก)นิดหน่อย ตำผสมกัน ทาบริเวณที่เป็นกลาก โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อน ทาบ่อยๆ จนหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
3.       ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบชุมเห็ดเทศ และก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ

ข้อมูลจาก : สมุนไพรใกล้ตัว สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน