วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฟ้าทะลายโจร





ชื่อวิทยาศาสตร์           Andrographis paniculata ( Burm.f. ) Wall. ex Nees
ชื่อวงศ์                     Acanthaceae
ชื่ออังกฤษ
ชื่อท้องถิ่น                 ซีปังกี  ฟ้าทะลาย  หญ้ากันงู

ส่วนที่ใช้              ส่วนเหนือดิน หรือ ใบ

 ฟ้าทะลายโจร ยาที่มีความหมายในตัวเองไม่น้อย เพราะแม้แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟ้าประทานมาให้ปราบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือน เหล่า โจรร้าย ส่วนในภาษาจีนกลาง ยาตัวนี้มีชื่ออย่างเพราะพริ้งว่า "ชวนซิเหลียน" แปลว่า "ดอกบัวอยู่ในหัวใจ" ซึ่งมีความหมายสูงส่งมาก วงการ แพทย์จีนได้ยก ฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบ เป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มี ฤทธิ์แรงพอ ที่จะรักษาโรคได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น
สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัด และเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ ยาปฏิชีวนะในคนที่เป็นหวัดบ่อยๆ ร้อนในบ่อยๆ เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้านทานอ่อนลง การรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะช่วย กระตุ้น ภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เป็นหวัดง่าย ร้อนในจะหายไป และสมุนไพรฟ้าทะลายโจรดีกว่ายาปฏิชีวนะ ตรงที่ไม่เกิดการง่วงนอน ไม่เกิดการดื้อยา และยัง ป้องกันตับ จากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว มีรอบประสีม่วง แดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ราก ใบ ทั้งต้น

การปลูก ทำได้หลายวิธีได้แก่
    1. แบบหว่าน สิ้นเปลืองเมล็ด ให้ผลผลิตน้อย
    2. แบบโรยเมล็ดเป็นแถว ประมาณ 50-100 เมล็ด ต่อ ความยาวร่อง 1 เมตร
    3. แบบหยอดหลุม ระยะระหว่างต้น 20-30 ซม. ระหว่างแถว 40 ซม. หยอดเมล็ดหลุมละ 5-10 เมล็ด
    4. ปลูกโดยใช้กล้า ให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าการปลูกโดย 3 วิธีแรก


การเก็บเกี่ยว
          ช่วงที่พืชออกดอกนับตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50 % เพื่อให้มีปริมาณสารสำคัญสูง ซึ่งพืชจะมีอายุประมาณ 110-150 วัน


การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
          การทำความสะอาด นำฟ้าทะลายโจรมาล้างน้ำให้สะอาดตัดให้มีความยาว 3-5 ซม. ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาเกลี่ยบนกระด้งหรือถาดที่สะอาด
การทำให้แห้ง อบที่อุณหภูมิ 50 C. ใน 8 ชั่วโมงแรก ต่อไปใช้อุณหภูมิ 40-50 C. อบจนแห้งสนิท หรือตากแดดจนแห้งสนิท ควรคลุมภาชนะด้วยผ้าขาวบาง


สารสำคัญ
          ส่วนเหนือดินฟ้าทะลายโจร มีสารสำคัญจำพวกไดเทอร์ปีนแลคโตน (diterpene lactones) หลายชนิด ได้แก่ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) นีโอแอนโดกราโฟไลด์ (neoandrographolide) ดีออกซีแอนโดกราโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ดีออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (deoxy-didehydroandrographolide) วัตถุดิบฟ้าทะลายโจรที่ดีควรมีปริมาณแลคโตนรวมคำนวณเป็นแอนโดรกราโฟไลด์ ไม่ต่ำกว่า 6 % ไม่ควรเก็บวัตถุดิบไว้ใช้นาน ๆ เพราะปริมาณสารสำคัญจะลดประมาณ 25 % เมื่อเก็บไว้ 1 ปี


ผลการศึกษาทางเภสัชวิทยา
          การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ ทางยาหลายประการ ดังนี้
    1. ฤทธิ์ลดการบีบหรือหดเกร็งตัวของทางเดินอาหาร
    2. ฤทธิ์ลดอาการท้องเสีย โดยทำให้การสูญเสียน้ำทางลำไส้จากสารพิษของแบคทีเรียลดลง
    3. ฤทธิ์ลดไข้และต้านการอักเสบ
    4. ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
    5. ฤทธิ์ป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซทตามอล หรือเหล้า
    6. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
    7. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด


การรักษาโรค
    
1. รักษาอาการไข้เจ็บคอ (Pharyngotonsillitis)

        ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรขนาด 6 กรัม/วัน หรือพาราเซทตามอล 3 กรัม / วัน หายจากไข้ และอาการเจ็บคอได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรขนาด 3 กรัม / วัน อย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 3 หลังรักษา แต่ผลการรักษาไม่มีความแตกต่างกันในวันที่ 7

2. การรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิดแบคทีเรีย (Bacilliary dysentery) ผู้
       ป่วยที่ได้รับฟ้าทะลายโจรทั้งขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง และขนาด 1 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง เทียบกับยาเตตร้าซัยคลิน พบว่า สามารถสามารถลด จำนวนอุจจาระร่วง (ทั้งความถี่และปริมาณ) และจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนในการรักษาโรคอุจจาระและบิดแบคทีเรียได้อย่างน่าพอใจ ลดการสูญเสียน้ำ ได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ยาเตตร้าชัยคลิน

3. การศึกษาประสิทธิผลในการบรรเทาอาการหวัด (Common cold)        ผลการทดลองให้ยาเม็ดสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่ควบคุมให้มีปริมาณของแอนโดกราโฟไลด์ และดีออกซีแอนโดรกราไฟไลด์รวมกันไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัม /เม็ด ครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 เวลา ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด พบว่า วันที่ 2 หลังได้รับยา ความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญและในวันที่ 4 หลังได้รับยา ความรุนแรงของทุกอาการได้แก่ อาการไอ เสมหะ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
4. แก้ไข้  กระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส 
       ให้ฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา

5. ไข้ไทฟอยด์  
        ใช้ฟ้าทะลายโจร 2 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร เป็น เวลา ๓ สัปดาห์ หลังจากนั้น ควรกินยาบำรุงฟื้นกำลังผุ้ป่วย ฟ้าทะลายโจร จะทำลายเชื้อไทฟอยด์ ที่ฝังตัว อยู่ในเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลือง ในผนัง ลำไส้เล็ก ลำไส้ที่เป็นอัมพาตอยุ่เดิม ก็เริ่มทำงาน ฟ้าทะลายโจร ยังเร่งตับ ให้สร้างน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร

6. โรคตับ 
        ให้ฟ้าทะลายโจร 2-3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา และควร ให้ยาบำรุงร่วมด้วย หลังจากฟื้นไข้แล้ว

7. งูสวัด 
       ให้ฟ้าทะลายโจรกิน 2-3 เม็ดก่อนอาหาร 3 เวลา เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากงูสวัดเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง จะอยู่นาน 3 สัปดาห์ ถ้าให้ฟ้าทะลายโจร ครบตามเวลา งูสวัดจะไม่กลับมาเป็นอีก ส่วนตุ่ม แผลพุพอง ใช้ยาเสลดพังพอนทา หรือใช้ว่านนาคราช หรือใบจีกรนารายณ์ ตำใส่สุรา ใช้ทาหรือพอกก็ได้

8. แผลโรคเบาหวาน
       ฟ้าทะลายโจร รักษาแผลอักเสบเนื่องจากเบา หวานได้ เพระาฟ้าทะลายโจร ทำไห้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ใช้ทั้งกิน ทั้งทา

9. ริดสีดวงทวาร 
      ให้กินฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา และก่อนนอน อาการเลือดออก หรือปวดถ่วงจะหายไป และ ถ่ายได้ สะดวกเป็นปกติ

10.แก้เบาหวาน 
      ใช้ต้นฟ้าทะลายโจร และว่านเอ็นเหลือง กระชาย ทำเป็นยาเม็ดกิน


วิธีการนำไปใช้
1.ใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างสะอาด สับเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้งแก้เจ็บคอ ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้ 2-3 กำมือ

2.ใช้ในรูปยาลูกกลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาดผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทาน ครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน

3.ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูป ยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในรูปยาแคปซูล

4.ใช้ในรูปยาดองเหล้า นำใบฟ้าทะลายโจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในขวดแก้ว แช่ด้วยเหล้าโรงพอท่วมยา ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดหรือคนยาวันละครั้ง เมื่อครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร

5.ใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ ตำผสมเกลือเล็กน้อย เติมเหล้าครึ่งถ้วยยา น้ำครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันดี รินเอาน้ำดื่ม กากที่เหลือใช้พอกแผล-ฝี แล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้


ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจร   สำหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
    1. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
    2. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบเนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A
    3. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
    4. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น


ข้อควรระวัง
    1. ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว หรือวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้ป่วยบางราย หากมีอาการดังกล่าว ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร
    2. หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
    3. หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้ และไปพบแพทย์
    4. สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร
    5. ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไป .


ขนาดที่ใช้และวิธีใช้
    รับประทานครั้งละ 1,500 – 3,000 มิลลิกรัม ของผงยาวันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร 3 เวลา และก่อนนอน (จำนวนเม็ดหรือแคปซูลที่รับประทานแต่ละครั้งให้ ปรับตามขนาดของผงยาที่บรรจุในแต่ละเม็ด)




















วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ว่านหางจรเข้





ชื่อวิทย์   Aloe  baebadensis Mill.
ชื่อวงศ์   LILIACEAE
ชื่ออื่น    ว่านไฟไหม้, หางตะเข้

สรรพคุณ

ใบ  รสเย็น ตำผสมสุราพอกฝี วุ้นจากใบล้างด้วยน้ำสะอาด ทาหรือฝานบางๆ ปิดหรือทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกัน และรักษาอาการไหม้จาก แสงแดดหรือรังสี ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผล เป็น วุ้นรับประทานรักษาโรคกระเพาะ บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ดูดพิษร้อนภายในร่างกาย

ทั้งต้น รสเย็นเอียน ดองสุราดื่ม ขับน้ำคาวปลา
 

ราก รสขมชื่น รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด ช้ำรั่ว

ความลับของว่านหางจระเข้
๑.   แก้ปวดศีรษะ  ใช้ว่านหางจระเข้ตัดตามขวางให้เป็นแว่นบางๆ เอาปูน แดงทาที่วุ้น แล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวด
๒.   แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก   ใช้น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้รักษา แผลไฟลวก ขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำเมือกที่แผลให้เปียก
อยู่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก อาการปวดแผลหรือการเกิดแผลเป็นจะมีน้อย มาก หรือไม่มีเลย
๓.   ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา  ใช้วุ้นหางจระเข้ทาบ่อยๆ ช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดจำนวนผิวที่ลอก
๔.   แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ   ทำ ความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงไปให้ ผ้าตรงบริเวณที่แผลเปียกอยู่เสมอ ช่วยให้แผลหายเร็ว และลดรอยแผล เป็น
๕.   กระเพาะลำไส้อักเสบ  รับประทานวุ้นหางจระเข้ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่น ในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ
๖.   บำรุงผมและหนังศีรษะ   ใช้ วุ้นว่างหางจระเข้ ชโลมผมให้ทั่วทิ้ง ไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ( ก่อนใช้ควรทดลองก่อนว่า แพ้ว่าน หรือไม่ และควรใช้แต่น้อยดูก่อน ที่สำคัญอย่าให้ยางถูกผมเพราะยางจะ กัดหนังหัว)
๗.   ป้องกันการติดเชื้อ  ใช้วุ้นหางจระเข้ ทาแผลรักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้น ภายใน ๑๒ ชั่วโมง

๘.   ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ  เนื่องจากวุ้นหางจระเข้ จะมี ฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคันด้วย และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็ว

๙.   ขี้เรือนกวาง และผื่นปวดแสบปวดร้อน   ใช้ วุ้นหางจระเข้ กินวันละ ๑-๒ ครั้งๆละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ แลทาควบคู่กันไป ว่านหางจระเข้ เป็นยาฝาดสมาน อาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว หรือ น้ำมันอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย
๑๐.   ลบรอยแผลเป็น  ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทา เช้า-เย็น จะลดรอย แผลเป็น
๑๑.   ลบท้องลายหลังคลอด  ใช้ วุ้นว่านหางจระเข้ทาผิวท้อง ขณะตั้ง ครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อเพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่ สภาพปกติ คนที่เคยใช้ยืนยันว่าได้ผลดี
๑๒.   เส้นเลือดดำขอดที่ขา  ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาที่บริเวณเส้นเลือด ดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก
๑๓.   มะเร็งที่ผิวหนัง  ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาวันละ ๒-๔ ครั้ง เป็นเวลา หลายเดือน
๑๔.   แผลครูดและแผลถลอก  ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาเบาๆ ให้ทั่วใน ๒๔ ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วขึ้น
๑๕.   โรคปวดตามข้อ  รับประทานวุ้น ว่านหางจระเข้ เป็นประจำ จะหาย ปวดได้


วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ใบย่านาง

                  


ย่านาง 
    หากใครเป็นคออาหารอีสานรสแซบแล้วละก็ เป็นต้องคุ้นกับกลิ่นใบย่านางที่เคล้ามากับซุบหน่อไม้และแกงหน่อไม้ที่หอมยั่วน้ำลาย
                   ใคร บางคนว่ากลิ่นใบย่านางนั้นหอม แต่บางคนก็ว่าฉุน  ทั้งนี้และทั้งนั้นก็อาจเป็นเพราะ ขึ้นอยู่กับรสนิยมของคนกินด้วยว่า  กลิ่นที่ว่านี้จะถูกกันหรือไม่  แต่หากว่าแกงกับซุบหน่อไม้   ไร้ซึ่งน้ำคั้นจากใบย่านางก็เห็นทีจะไม่เป็นซุบหรือแกงที่รสชาติแซบนัว   (แปลว่าอร่อยแบบกลมกล่อม ภาษาอีสาน)   เพราะกลิ่นเปรี้ยวกลิ่นขื่นและรสขมของหน่อไม้ทีดองก่อนนำมาทำอาหาร
                 ย่านาง หรือ TILIACORA TRIANDRA DIELS อยู่ในวงศ์ MENISPERMACEAE เป็น ไม้เลื้อย พบขึ้น ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และป่าโปร่ง ทุกภาค ของประเทศไทย มีสรรพคุณเฉพาะ ทั้งต้นปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ  ใบเป็นยาถอนพิษ  การช่วยถอนพิษ  แก้ไข้และลดความร้อนในร่างกายได้  อีกทั้งยังเป็นพืชที่ให้แคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง และยังให้สารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน หากกินทั้งใบก็จะมีเส้นใยมาก  ส่วน รากของใบย่านางช่วยถอนพิษ แก้ไข้ แก้เมารถ เมาเรือ แก้โรคหัวใจและแก้ลมได้ด้วย ขอแถมให้อีกนิด หากนำน้ำใบย่านางมาสระผม จะช่วยทำให้ผมดกดำ ชลอผมหงอกได้อีกต่างหาก
ลักษณะทั่วไปของใบย่านาง

              ย่านางนั้นเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียวสดและอวบน้ำ ภายในลำต้นมีน้ำเมือกเหนียว มีขนตามกิ่งอ่อน เถาเมื่อแก่มีผิวเรียบและเหนียวมาก  ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มรูปไข่แกมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบมัน ออกดอกเล็ก ๆ ตามซอกใบ ดอกมีสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กกลมรี
การปลูกและดูแลรักษา
                 เดิมนั้นเถาย่านางมักขึ้นอยู่เองตามป่า แต่อยากปลุกก็ไม่ยากเพียงแค่เพราะเมล็ดหรือขุดเอารากที่เป็นหัวไปปลูกในที่ ใหม่ รดน้ำให้ฉ่ำชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันค้างที่เตรียมไว้ หรือหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องลำบากยากเย็นสำหรับเถาย่านาง เพราะเดิมนั้นเถาย่านางเป็นไม้ป่าจึงไม่กลัวความลำบากลำบน อดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพดินและสภาพอากาศทุกฤดูกาล หากอยากได้บรรยากาศเมืองร้อนแลป่าฝนก็ปลูกชมใบสีเขียวก็ดี
ประโยชน์ของใบย่านาง
                        นอกจากจะเป็นอาหารและเครื่องปรุงรส ใบย่านางและน้ำคั้นจากใบยังมีสารอาหารอย่างแคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีวิตามินอื่น ๆ ร่วมขบวนด้วย เช่น เอ บี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน       คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้ ส่วนของเถาใช้แก้ตานขโมย    แถมวิธีใช้เถาย่านางเพื่อลดไข้ ใช้ดังนี้ใช้รากแห้งประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือต้มกับสมุนไพรอีก 4 ชนิด ตามการแนะนำของสถาบันการแพทย์แผนไทย คือรากเท้ายายม่อม รากมะเดื่ออุทุมพร รากคนทา รากชิงขี่ จะให้ผลในการลดไข้ได้ดียิ่งขึ้น
แหล่งข้อมูล : panyathai.or.th