ชุมเห็ดเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia alata Linn
ชื่อท้องถิ่น ชุมเห็ดใหญ่(ภาคกลาง), ขี้คาก, ลับมืนหลวง, หมากกะลิงเทศ(ภาคเหนือ), ชุมเห็ด(ภาคกลาง), เล็บมื่นหลวง(ภาคเหนือ), สัมเห็ด(เชียงราย), จุมเห็ด(มหาสารคาม),ตะสีพอ
(กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะโดยทั่วไปของชุมเห็ดเทศ เป็นไม้พุ่ม ใบรูปไข่ หรือรูปไข่ขอบขนาน
ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน เรียงตัวเป็นแบบใบประกอบ ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแบนยาวมีปีก
4 ปีก เมล็ดในรูปสามเหลี่ยม ใช้เมล็ดปลูก
ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ ใบสด หรือแห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
ดอกและใบต้มทานแก้อาการท้องผูก
ประโยชน์ทางยา ใบชุมเห็ดเทศมีสารแอนทราควิโนน (anthraquinone) ช่วยขับถ่าย ชุมเห็ดเทศใช้เป็นยารักษาอาการ ดังนี้
1.
อาการท้องผูก ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 2-3 ช่อ
ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบสดมาล้างให้สะอาด หั่นตากแห้ง ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม
ครั้งละ 12 ใบ หรือใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย
ครั้งละ 3 เม็ด รับประทานก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก
2.
กลาก ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด
เติมน้ำเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมเท่าๆกัน
ผสมปูนแดง(ที่กินกับหมาก)นิดหน่อย ตำผสมกัน ทาบริเวณที่เป็นกลาก
โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อน ทาบ่อยๆ จนหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
3.
ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบชุมเห็ดเทศ และก้านสด
1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2
ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ
ข้อมูลจาก :
สมุนไพรใกล้ตัว สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น