วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ขมิ้นชัน







ชื่อวิทยาศาสตร์           Curcuma long Linn.
ชื่ออื่น                      ขมิ้น,ขมิ้นแกง,ขมิ้นหยอก,ขมิ้นหัว,ขี้มิ้น,หมิ้น
ลักษณะ
พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านยาว ใบเหนียว เรียวและปลายแหลม ดอกเป็นช่อกระทง ก้านช่อดอกแทงจากเหง้าโดยตรง ดอกฝอยมีสีเหลืองอ่อน กลีบประดับสีเขียวอมชมพู
สรรพคุณเด่น
รักษาอาการท้องอืดเฟ้อ โรคกระเพาะ แผลพุพอง บำรุงผิว
วิธีใช้ในครัวเรือน
เอาขมิ้นชันสดมากินหรือนำขมิ้นชันมาหันตากแห้ง แล้วบดเป็นผง ปั้นเป็นเม็ดลูกกลอน กินครั้งละ 3-4 เม็ด ก่อนอาหารและก่อนนอน หรือใช้ขมิ้นชันผงทารักษาแผล
สภาพแวดล้อม
ขมิ้นชัน เป็นพืชพื้นเมืองของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้เอง แล้วกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของโลก ขมิ้นชันที่ปลูกในภาคใต้เราพบว่ามีคุณสมบัติที่ดีที่สุดในโลก ขมิ้นชันชอบอากาศค่อนข้างร้อน ความชื้นสูง ชอบดินทีร่วนซุย ระบายน้ำดี ถ้ามีน้ำขังจะทำให้เหง้าขมิ้นเน่า ปลูกในดินทรายได้หัวมากกว่าดินอื่น ดินเหนียว ดินเป้นกด ดินลูกรัง หรือพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง เช่น หลายพื้นที่ในภาคอีสานไม่เหมาะจะปลูก ขมิ้นชันชอบแดดรำไร ปลูกได้ระหว่างแถวไม้ผล
ปลูก / ดูแล
ขมิ้นชันควรปลูกในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เตรียมหัวพันธ์จากเหง้าที่แก่จัด อายุ 11-12 เดือน
ใช้แง่งแม่หรือแง่งนิ้วมือ โดยไม่ต้องตัดหรือตัดเป็นท่อนๆ ให้มีตาติดอยู่ 1-2 ตา แล้วนำไปปลูกในแปลงเลย
เตรียมดินโดยพรวนดินให้ร่วนซุย การทำให้ดินโปร่งเพื่อปลูกขมิ้นชันหรือพืชอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน เช่น ขิง ไพล ควรเลือกใช้ปุ๋ยอย่างพิถีพิถัน ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอกบางชนิด เช่น ปุ๋ยขี้เป็ดขี้ไก่ เพราะมักจะทำให้เกิดเชื้อรา ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับขมิ้นชันคือ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยขี้วัวจากวัวที่เลี้ยงตามทุ่ง
ในพื้นที่ที่มีน้ำมาก ควรยกร่อง แต่ถ้าปลูกในสวนไม้ผลไม่จำเป็นต้องยกร่อง ระยะปลูกระหว่างแถว 30 ซม. ระหว่างต้น 30 ซม. ขุดหลุมปลูกกว้างลึกประมาณ 1 หน้าจอบ (15 ซม.) ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกกับดินก้นหลุม เอาหัวพันธ์ฝังให้ลึก 5-7 ซม. เกลี่ยดินกลบแล้วใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมแปลงช่วยรักษาความชื้นน
หลังจากปลูกในช่วง 6 เดือนแรก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำรักษาความชุ่มชื้นในดินให้สม่ำเสมอ เมื่อขมิ้นชันทิ้งใบหมด คอยดายหญ้า พรวนดินกลบโคนต้นอยู่เสมอ
เก็บเกี่ยว
ขมิ้นชันจะเริ่มแก่เมื่ออายุประมาณ 7 เดือน สังเกตจากใบล่างๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปล่อยทิ้งไว้อีก 2-3 เดือน ใบจะแห้ง ต้นฟุบ ก็ขุดใช้ได้ ถ้าดินแห้งเกินไป ให้รดน้ำก่อนเพื่อให้ขุดง่ายขึ้นระวังอย่าให้จอบโดนเหง้าเป็นแผล. ขมิ้นชันจะเริ่มแก่เมื่ออายุประมาณ 7 เดือน สังเกตจากใบล่างๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปล่อยทิ้งไว้อีก 2-3 เดือน ใบจะแห้ง ต้นฟุบ ก็ขุดใช้ได้ ถ้าดินแห้งเกินไป ให้รดน้ำก่อนเพื่อให้ขุดง่ายขึ้นระวังอย่าให้จอบโดนเหง้าเป็นแผล
เหง้าแก่ถ้าทิ้งไว้ในดิน หัวจะฝ่อ เมื่อได้ฝนจะแตกหนอใหม่แต่จะไม่เพิ่มจำนวน ถ้าต้องการขยายจำนวน ควรขุดขึ้นมาใช้เป็นพันธ์สำหรับปลูกใหม่
แปรรูป
ขมิ้นชันเป็นพืชหัวอยู่ใต้ดิน การล้างทำความสะอาดเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ควรรีบล้างขมิ้นชันทันทีจะทำให้ล้างง่ายขึ้นและไม่เน่าเสียง่าย
นำขมิ้นชันมาเคาะดินออก ตัดรากตามเหง้าออกให้หมด แยกเหง้าขมิ้นชันออกเป็นแง่งๆ นำเหง้าขมิ้นชันมาล้าง โดยเปิดน้ำให้ไหลฉีดแรง เพื่อล้างดินที่ติดตามแง่งขมิ้นชันให้ออกได้ดีขึ้น ใช้มือขัดถูแง่งขมิ้นชันให้สะอาด ถ้าใช้มือล้างไม่ออกให้ใช้แปรงสีฟันที่ขนแข็งๆ แปรงออกให้สะอาด หลังจากล้างน้ำเสร็จแล้ว ให้ล้างน้ำแบบสรงน้ำอีก 5 ครั้ง เมื่อล้างเสร็จแล้วไม่ควรนำขมิ้นชันมาหั่นเพื่อตากในทันทีเพราะจะแฉะแล้วตากยาก ควรใส่ในตะกร้าหรือเข่งทิ้งไว้ก่อนสัก 1 คืน
ตอนเช้านำขมิ้นชันที่ล้างแล้วใช้มีดคมๆ หั่นให้บางที่สุด เสร็จแล้วใส่กระจาดหรือภาชนะที่มีรูโปร่งนำไปตากแดด เกลี่ยให้เต็มพื้นที่อย่าให้ทับซ้อนกัน พลิกบ่อยๆ ในช่วงแรกประมาณ 10-20 นาที ต่อครั้ง จะทำให้ขมิ้นแห้งเร็วมากและมีสีสวย พอขมิ้นชันเริ่มแห้งจะหดมีขนาดเล็กลง ค่อยนำมารวมกันและเกลี่ยให้ทั่วอีกครั้ง ขมิ้นชันตากแดดจัดๆ เพียง 2 วัน ก็แห้งสนิทแล้ว
ในกรณีที่มีขมิ้นชันจำนวนมาก ควรใช้วิธีทยอยหั่น ทยอยตากจะดีที่สุด ขมิ้นชันไม่ควรใช้เวลาหั่นเกินเที่ยงวัน มิฉะนั้นจะตากแดดไม่ทัน (ตากถึงบ่ายสามโมง)
ก่อน บรรจุใส่ถุงหรือภาชนะจัดเก็บ ให้ตรวจสอบขมิ้นชันอีกครั้ง หากพบขมิ้นชันที่อาจเป็นช่วงปุ่มปมที่มีความหนา ยังไม่แห้งสนิทให้นำมาทุบหรือหั่นซอยแล้วนำไปตากซ้ำให้แห้งสนิทอีกครั้งก่อน นำมาบรรจุ
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
              ลูกกลอน
,แคปซูล,สบู่ก้อน,สบู่เหลว

แหล่งข้อมูล   มูลนิธิสุขภาพไทย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น