ชื่อวิทยาศาสตร์
: Orthosiphon grandiflorus Boiding
วงศ์ : LABIATAE
ชื่อสามัญ : Cat’s Whisker, Java Tea , Kidney Tea Plant
ชื่ออื่น,ชื่อพื้นเมือง : บางรักป่า
(ประจวบคีรีขันธ์) พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุกขนาดเล็ก
ลำต้นกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3-0.8 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม
แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกตรงปลายยอด
มี 2 พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า
บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก ผล
เป็นผลแห้งไม่แตก
ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบและต้นขนาดกลางไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป
สรรพคุณ
ใช้ปัสสาวะ ขับนิ่ว
ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมีเกลือโปแตสเซียมมาก
หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่างซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน)
ซึ่งมักจะเป็นก้อนที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน
และใช้รักษานิ่วกรดซึ่งเกิดจากกรดยูริก
นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อนแต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง
มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง
เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง
ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน
ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น
จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมวไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว
ดั้งนั้นนิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็กๆ
ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมวจะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็กๆ ให้หลุดออกมา
วิธีการใช้
การใช้หญ้าหนวดแมวรักษาอาการปัสสาวะขัดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข
1. นำใบและกิ่งแห้ง 4 กรัม
มาชงด้วยน้ำร้อน 750 มิลลิลิตร ดื่มน้ำชงต่างน้ำ ติดต่อกันนาน
1-6 เดือน
2. ใช้ใบและก้านสด 90-120 กรัม (แห้ง 40-50 กรัม) ต้มกับน้ำ
ดื่มน้ำต้มที่ได้ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ข้อควรระวัง
- เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีเกลือโปแตสเซียมสูง
จึงไม่ควรใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ
- ไม่ควรใช้การต้ม ให้ใช้การชง และควรใช้ใบอ่อน เพราะใบแก่จะมีความเข้มข้นอาจ ทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ
- ควรใช้ใบตากแห้ง เพราะใบสดจะทำให้มีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่น
- ไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน เพราะสารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยา จำพวกแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
- ไม่ควรใช้การต้ม ให้ใช้การชง และควรใช้ใบอ่อน เพราะใบแก่จะมีความเข้มข้นอาจ ทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ
- ควรใช้ใบตากแห้ง เพราะใบสดจะทำให้มีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่น
- ไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน เพราะสารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยา จำพวกแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
ขยายพันธุ์
โดยการปักชำกิ่งและเพาะเมล็ด ปลูกง่าย โตเร็ว นอกจากนิยมปลูกเป็นไม้ประดับแล้ว หญ้าหนวดแมวยังเป็นสมุนไพร ปลูกไว้คู่บ้านอีกด้วย
โดยปลูกเป็นแปลงผักหรือปลูกในกระถาง
อ้างอิง
http://www.rspg.or.th