| |||||||||||
วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ฟ้าทะลายโจร
วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ว่านหางจรเข้
ชื่อวิทย์ Aloe baebadensis Mill.
ชื่อวงศ์ LILIACEAE
ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้, หางตะเข้
สรรพคุณ
ใบ รสเย็น ตำผสมสุราพอกฝี วุ้นจากใบล้างด้วยน้ำสะอาด ทาหรือฝานบางๆ ปิดหรือทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกัน และรักษาอาการไหม้จาก แสงแดดหรือรังสี ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผล เป็น วุ้นรับประทานรักษาโรคกระเพาะ บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ดูดพิษร้อนภายในร่างกาย
ทั้งต้น รสเย็นเอียน ดองสุราดื่ม ขับน้ำคาวปลา
ราก รสขมชื่น รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด ช้ำรั่ว
ความลับของว่านหางจระเข้
๑. แก้ปวดศีรษะ ใช้ว่านหางจระเข้ตัดตามขวางให้เป็นแว่นบางๆ เอาปูน แดงทาที่วุ้น แล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวด
๒. แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้รักษา แผลไฟลวก ขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำเมือกที่แผลให้เปียก
อยู่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก อาการปวดแผลหรือการเกิดแผลเป็นจะมีน้อย มาก หรือไม่มีเลย
๓. ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา ใช้วุ้นหางจระเข้ทาบ่อยๆ ช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดจำนวนผิวที่ลอก
๔. แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ ทำ ความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงไปให้ ผ้าตรงบริเวณที่แผลเปียกอยู่เสมอ ช่วยให้แผลหายเร็ว และลดรอยแผล เป็น
๕. กระเพาะลำไส้อักเสบ รับประทานวุ้นหางจระเข้ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่น ในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ
๖. บำรุงผมและหนังศีรษะ ใช้ วุ้นว่างหางจระเข้ ชโลมผมให้ทั่วทิ้ง ไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ( ก่อนใช้ควรทดลองก่อนว่า แพ้ว่าน หรือไม่ และควรใช้แต่น้อยดูก่อน ที่สำคัญอย่าให้ยางถูกผมเพราะยางจะ กัดหนังหัว)
๗. ป้องกันการติดเชื้อ ใช้วุ้นหางจระเข้ ทาแผลรักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้น ภายใน ๑๒ ชั่วโมง
๘. ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ เนื่องจากวุ้นหางจระเข้ จะมี ฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคันด้วย และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็ว
๙. ขี้เรือนกวาง และผื่นปวดแสบปวดร้อน ใช้ วุ้นหางจระเข้ กินวันละ ๑-๒ ครั้งๆละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ แลทาควบคู่กันไป ว่านหางจระเข้ เป็นยาฝาดสมาน อาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว หรือ น้ำมันอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย
๑๐. ลบรอยแผลเป็น ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทา เช้า-เย็น จะลดรอย แผลเป็น
๑๑. ลบท้องลายหลังคลอด ใช้ วุ้นว่านหางจระเข้ทาผิวท้อง ขณะตั้ง ครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อเพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่ สภาพปกติ คนที่เคยใช้ยืนยันว่าได้ผลดี
๑๒. เส้นเลือดดำขอดที่ขา ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาที่บริเวณเส้นเลือด ดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก
๑๓. มะเร็งที่ผิวหนัง ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาวันละ ๒-๔ ครั้ง เป็นเวลา หลายเดือน
๑๔. แผลครูดและแผลถลอก ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาเบาๆ ให้ทั่วใน ๒๔ ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วขึ้น
๑๕. โรคปวดตามข้อ รับประทานวุ้น ว่านหางจระเข้ เป็นประจำ จะหาย ปวดได้
อ้างอิง
1. http://ittm.dtam.moph.go.th/product_champion/herb3.htm
2. http://www.ku.ac.th/e-magazine/february45/agri/far.html
3. http://women.sanook.com/health/herbal/herbal_43891.php
4. http://www.gpo.or.th/rdi/html/Andrographis.html
5. http://www.geocities.com/thaimedicinecm/sansilpayathai32fatalaijon.htm
1. http://ittm.dtam.moph.go.th/product_champion/herb3.htm
2. http://www.ku.ac.th/e-magazine/february45/agri/far.html
3. http://women.sanook.com/health/herbal/herbal_43891.php
4. http://www.gpo.or.th/rdi/html/Andrographis.html
5. http://www.geocities.com/thaimedicinecm/sansilpayathai32fatalaijon.htm
วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ใบย่านาง
ย่านาง
หากใครเป็นคออาหารอีสานรสแซบแล้วละก็
เป็นต้องคุ้นกับกลิ่นใบย่านางที่เคล้ามากับซุบหน่อไม้และแกงหน่อไม้ที่หอมยั่วน้ำลาย
ใคร บางคนว่ากลิ่นใบย่านางนั้นหอม แต่บางคนก็ว่าฉุน ทั้งนี้และทั้งนั้นก็อาจเป็นเพราะ ขึ้นอยู่กับรสนิยมของคนกินด้วยว่า กลิ่นที่ว่านี้จะถูกกันหรือไม่ แต่หากว่าแกงกับซุบหน่อไม้ ไร้ซึ่งน้ำคั้นจากใบย่านางก็เห็นทีจะไม่เป็นซุบหรือแกงที่รสชาติแซบนัว (แปลว่าอร่อยแบบกลมกล่อม – ภาษาอีสาน) เพราะกลิ่นเปรี้ยวกลิ่นขื่นและรสขมของหน่อไม้ทีดองก่อนนำมาทำอาหาร
ย่านาง หรือ TILIACORA TRIANDRA DIELS อยู่ในวงศ์
MENISPERMACEAE เป็น ไม้เลื้อย พบขึ้น ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ
และป่าโปร่ง ทุกภาค ของประเทศไทย มีสรรพคุณเฉพาะ ทั้งต้นปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
ใบเป็นยาถอนพิษ การช่วยถอนพิษ แก้ไข้และลดความร้อนในร่างกายได้ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ให้แคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง
และยังให้สารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน หากกินทั้งใบก็จะมีเส้นใยมาก
ส่วน รากของใบย่านางช่วยถอนพิษ แก้ไข้ แก้เมารถ เมาเรือ
แก้โรคหัวใจและแก้ลมได้ด้วย ขอแถมให้อีกนิด หากนำน้ำใบย่านางมาสระผม
จะช่วยทำให้ผมดกดำ ชลอผมหงอกได้อีกต่างหาก
ลักษณะทั่วไปของใบย่านาง
ย่านางนั้นเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียวสดและอวบน้ำ ภายในลำต้นมีน้ำเมือกเหนียว มีขนตามกิ่งอ่อน เถาเมื่อแก่มีผิวเรียบและเหนียวมาก ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มรูปไข่แกมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบมัน ออกดอกเล็ก ๆ ตามซอกใบ ดอกมีสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กกลมรี
ย่านางนั้นเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียวสดและอวบน้ำ ภายในลำต้นมีน้ำเมือกเหนียว มีขนตามกิ่งอ่อน เถาเมื่อแก่มีผิวเรียบและเหนียวมาก ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มรูปไข่แกมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบมัน ออกดอกเล็ก ๆ ตามซอกใบ ดอกมีสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กกลมรี
การปลูกและดูแลรักษา
เดิมนั้นเถาย่านางมักขึ้นอยู่เองตามป่า
แต่อยากปลุกก็ไม่ยากเพียงแค่เพราะเมล็ดหรือขุดเอารากที่เป็นหัวไปปลูกในที่ ใหม่
รดน้ำให้ฉ่ำชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันค้างที่เตรียมไว้
หรือหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
ซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องลำบากยากเย็นสำหรับเถาย่านาง
เพราะเดิมนั้นเถาย่านางเป็นไม้ป่าจึงไม่กลัวความลำบากลำบน อดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพดินและสภาพอากาศทุกฤดูกาล
หากอยากได้บรรยากาศเมืองร้อนแลป่าฝนก็ปลูกชมใบสีเขียวก็ดี
ประโยชน์ของใบย่านาง
นอกจากจะเป็นอาหารและเครื่องปรุงรส
ใบย่านางและน้ำคั้นจากใบยังมีสารอาหารอย่างแคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีวิตามินอื่น ๆ ร่วมขบวนด้วย เช่น เอ บี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไขได้
อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้ ส่วนของเถาใช้แก้ตานขโมย แถมวิธีใช้เถาย่านางเพื่อลดไข้
ใช้ดังนี้ใช้รากแห้งประมาณ 15 กรัม
ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือต้มกับสมุนไพรอีก 4
ชนิด ตามการแนะนำของสถาบันการแพทย์แผนไทย คือรากเท้ายายม่อม
รากมะเดื่ออุทุมพร รากคนทา รากชิงขี่ จะให้ผลในการลดไข้ได้ดียิ่งขึ้น
แหล่งข้อมูล
: panyathai.or.th
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)